ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารเคมี “ไซยาไนด์”
“ไซยาไนด์” คืออะไร อันตรายแค่ไหน?
ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN-) เป็นองค์ประกอบ สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงมาก มักพบในรูปของสารประกอบโลหะอัลคาไลด์ที่เป็นของแข็งสีขาว และสารประกอบโลหะหนัก พบได้มากในพืชในรูปของกรดไฮโดรไซยานิค สามารถวิเคราะห์หาได้ในรูปของไซยาไนด์ไอออน สามารถวิเคราะห์หาไซยาไนด์ได้โดยใช้วิธีการกลั่น (Distillation Measurement) เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ชนิดของไซยาไนด์
1) ไซยาไนด์อิสระ (Free Cyanide)
คือ ไซยาไนด์ในรูปของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ หรือกรดไซยานิค (HCN) และ ไซยาไนด์ไอออน (CN-) สัดส่วนของกรดไซยานิคต่อไซยาไนด์
ไอออน ขึ้นอยู่กับค่าพีเอช และค่าคงที่การแตกตัวของกรดในธรรมชาติจึงมักพบอยู่ไนรูปไฮโดรเจนไซยาไนด์
HCN → H+ + CN–
2) ไซยาไนด์กับโลหะอัลคาไลน์
เป็นไซยาไนด์ที่รวมกับโลหะอัลคาไลด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN), ไทโอไซยาเนต (SCN–) และแอมโมเนียมไซยาไนด์ (NH4CN) เป็นต้น
มีสูตรทั่วไป คือ A(CN)x เมื่อ
A = โลหะอัลคาไลน์
X = จำนวนของไซยาไนด์ไอออน
สารประกอบไซยาไนด์กับโลหะอัลคาไลน์มักไม่เสถียร ระเหยตัวง่าย เป็นของแข็งละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไซยาไนด์ไอออน (CN–) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง มีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์
3) ไซยาไนด์กับโลหะหนัก
เป็นสารประกอบไซยาไนด์กับโลหะหนักชนิดต่าง ๆ โดยไม่มีโลหะอัลคาไลด์เป็นส่วนประกอบ เช่น คอปเปอร์ (II), ไซยาไนด์ (Cu(CN)2), ซิลเวอร์ไซยาไนด์ (AgCN) และซิงค์ไซยาไนด์ (Zn(CN)2) เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้ละลายน้ำได้น้อยมาก
❝ ปฏิกิริยาและการย่อยสลาย ไซยาไนด์ไอออนเกิดปฏิกิริยากับสารอื่นได้ดี ได้แก่ ไซยาไนด์ไอออนกับโลหะอัลคาไลด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN), ไซยาไนด์ไอออนกับโลหะหนัก เช่น ซิลเวอร์ไซยาไนด์ (AgCN) บางส่วนของสารประกอบจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ หรือถูกออกซิไดส์กลายเป็นไซยาเนต (CNO–) และย่อยสลายต่อทางเคมีจนได้คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และฟอร์เมท ระเหยสู่อากาศ ❞